จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,958 วันที่ 19 - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557
เมื่อปี 2556 บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ MILL
ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็ก ออกมาประกาศแผนขยายธุรกิจระยะ 5 ปี
(2557-2561) โดยใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท
ส่วนหนึ่งนำเงินไปซื้อทรัพย์สินของบริษัท อุตสาหกรรมเหล็กกล้าไทย จำกัด
(มหาชน)
หรือ TSSI ของนายประชัย
เลี่ยวไพรัตน์(ผู้ก่อตั้ง)และใช้สำหรับพัฒนาการผลิตเหล็กทรงยาวเกรดพิเศษ
รวมถึงการใช้งบในการมุ่งสู่การต่อยอดในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เช่น
การนำเหล็กก่อสร้างไปผสมกับปูนซีเมนต์ หรือคอนกรีตขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน
ล่าสุด นายสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน) แจงความคืบหน้าแผนลงทุนดังกล่าว รวมถึงมองภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กในปัจจุบัน ผ่าน"ฐานเศรษฐกิจ"
-ฝากความหวังครึ่งปีหลัง
เขาย้ำว่า MILL ยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มเหล็กก่อสร้างสำหรับใช้งานทั่วไป และกลุ่มเหล็กเกรดพิเศษ สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อความปลอดภัย เช่น ยานยนต์ เพียงแต่ในช่วง 2 ไตรมาส(ม.ค.-มิ.ย. 57) การบริโภคเหล็กชะลอตัวลง เนื่องจากมีวิกฤติการเมืองทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องไม่ขยายตัว โดยเริ่มส่งสัญญาณมาตั้งแต่ไตรมาสแรกปีนี้ เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ที่การบริโภคตกไปถึง 20% เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เข้ามาบริหารประเทศ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ฝากความหวังไว้กับครึ่งปีหลัง ที่จะมีการลงทุนต่อเนื่อง มีการอนุมัติโครงสร้างพื้นฐาน ปล่อยใบอนุญาตตั้งโรงงาน(รง.4) เร็วขึ้น เมื่อทุกอย่างถูกเร่งรัดให้เร็ว ก็น่าจะทำให้อุตสาหกรรมเหล็กมีการเติบโตได้ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4ปีนี้ โดยคาดว่า ถ้าจีดีพีของประเทศขยายตัวได้ 2-3% ก็จะทำให้การบริโภคเหล็กตลอดปี 2557ขยายตัวได้ 5% เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีการบริโภคเหล็กจำนวน 17 ล้านตันเศษ
ซีอีโอ MILL ยังกล่าวอีกว่า ปี 2557 เป็นปีที่ผู้ผลิตในประเทศถูกแชร์ส่วนแบ่งตลาดโดยการนำเข้า โดยเฉพาะเหล็กแผ่น แม้ว่าขณะนี้ไทยมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กแผ่น และเหล็กลวดจากต่างประเทศออกมาแล้วทั้งมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti- dumping:)หรือ เอดี และมาตรการปกป้องชั่วคราว (เซฟการ์ด) ก็ตาม
ล่าสุด นายสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน) แจงความคืบหน้าแผนลงทุนดังกล่าว รวมถึงมองภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กในปัจจุบัน ผ่าน"ฐานเศรษฐกิจ"
-ฝากความหวังครึ่งปีหลัง
เขาย้ำว่า MILL ยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มเหล็กก่อสร้างสำหรับใช้งานทั่วไป และกลุ่มเหล็กเกรดพิเศษ สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อความปลอดภัย เช่น ยานยนต์ เพียงแต่ในช่วง 2 ไตรมาส(ม.ค.-มิ.ย. 57) การบริโภคเหล็กชะลอตัวลง เนื่องจากมีวิกฤติการเมืองทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องไม่ขยายตัว โดยเริ่มส่งสัญญาณมาตั้งแต่ไตรมาสแรกปีนี้ เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ที่การบริโภคตกไปถึง 20% เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เข้ามาบริหารประเทศ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ฝากความหวังไว้กับครึ่งปีหลัง ที่จะมีการลงทุนต่อเนื่อง มีการอนุมัติโครงสร้างพื้นฐาน ปล่อยใบอนุญาตตั้งโรงงาน(รง.4) เร็วขึ้น เมื่อทุกอย่างถูกเร่งรัดให้เร็ว ก็น่าจะทำให้อุตสาหกรรมเหล็กมีการเติบโตได้ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4ปีนี้ โดยคาดว่า ถ้าจีดีพีของประเทศขยายตัวได้ 2-3% ก็จะทำให้การบริโภคเหล็กตลอดปี 2557ขยายตัวได้ 5% เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีการบริโภคเหล็กจำนวน 17 ล้านตันเศษ
ซีอีโอ MILL ยังกล่าวอีกว่า ปี 2557 เป็นปีที่ผู้ผลิตในประเทศถูกแชร์ส่วนแบ่งตลาดโดยการนำเข้า โดยเฉพาะเหล็กแผ่น แม้ว่าขณะนี้ไทยมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กแผ่น และเหล็กลวดจากต่างประเทศออกมาแล้วทั้งมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti- dumping:)หรือ เอดี และมาตรการปกป้องชั่วคราว (เซฟการ์ด) ก็ตาม
-วางกลยุทธ์ชดเชยครึ่งแรก
ดังนั้นครึ่งปีแรกปี 2557 ตลาดเหล็กยังต้องรับศึกหนักจากการนำเข้า และภาพรวมเศรษฐกิจไม่ดีจากผลกระทบทางการเมือง ทำให้การใช้เหล็กหดตัวลง ในครึ่งปีหลัง MILL จึงต้องวางกลยุทธ์และปรับตัวมากขึ้น โดยพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ทดสอบเหล็กเกรดพิเศษ ผลิตวัตถุดิบ เพื่อนำไปผลิตเหล็กเกรดพิเศษ จากเดิมนำบิลเล็ตมาผลิตเหล็กเส้นธรรมดา ก็นำมาพัฒนาผลิตเหล็กที่มีคาร์บอนสูงมากขึ้น โดยมีขนาดกำลังผลิต 6 แสนตันต่อปี
นอกจากนี้ปี 2557 ยังเป็นช่วงที่ MILLพร้อมเปิดตัวสินค้าตัวใหม่โดยนำเหล็กก่อสร้างมาต่อยอดการผลิตเหล็กที่มี แรงดึงสูงป้องกันแผ่นดินไหวโดยผลิตเหล็กแรงดึงสูง เป็นเหล็กเกรด SD 50-60 จากเดิมที่ผลิตเกรดธรรมดาคือเกรด SD 40 ทำให้ผู้รับเหมาประหยัดต้นทุนเพราะจะใช้ปริมาณเหล็กน้อยลงเมื่อเทียบกับ เหล็กเกรดธรรมดา และนอกจากปรับเป็นเหล็กเกรดพิเศษแล้วยังต่อยอดด้วยการผลิตเป็นข้อต่อ และตัดพับในหน้างาน เพื่อให้ผู้รับเหมาลดการสูญเสียในขบวนการผลิตที่หน้างานได้ถึง 10% โดยใช้กำลังผลิตเหล็กเส้นเดิมที่มีจำนวน 6 แสนตันต่อปี แบ่งมาผลิตเหล็กแรงดึงสูงจำนวน15% ของการผลิตเหล็กเส้นทั้งหมด
-แจงราคาเหล็ก 3 ระดับ
ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ MILL กล่าวถึงราคาเหล็กแรงดึงสูงจะมี3 ระดับคือ 1.เหล็กมาตรฐานธรรมดาขายราคา 2 หมื่นบาทต่อตัน หรือกิโลกรัมละ 20 บาท 2.เหล็กแรงดึงสูงราคาจะเพิ่มขึ้นมาอีก 1,500 บาทต่อตัน โดยลูกค้าจะประหยัด เพราะใช้ปริมาณไม่มากเท่ากับการใช้เหล็กมาตรฐาน 3. เหล็กแรงดึงสูงที่มีเหล็กข้อต่อ ราคาก็จะบวกขึ้นไปอีก 1,500 บาทต่อตัน
ปัจจุบัน MILL มีกำลังผลิตเหล็กทั้งสิ้น 8.50 แสนตันต่อปี แบ่งเป็นเหล็กเส้นจำนวน 6 แสนตันต่อปี และเหล็กรูปพรรณ 2.50 แสนตันต่อปี
ซีอีโอ MILL ยังกล่าวอีกว่าในอนาคตมีแผนผลิตเหล็กสำเร็จรูปให้ผู้รับเหมาสามารถนำไปขึ้น รูปที่หน้างานได้ทันที โดยไม่ต้องมาเสียเวลาเชื่อม หรือนั่งผูกลวด รวมไปถึงแผนพัฒนาไปถึงขั้นสร้างเป็นชิ้นงานสำเร็จรูป โดยผสมคอนกรีตไปด้วย ชิ้นงานจะออกมาเป็นเสาคอนกรีตสำเร็จรูป หรือแผ่นปูพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ที่มีส่วนประกอบเหล็กแรงดึงสูงและคอนกรีต ช่วยให้ผู้รับเหมาสะดวก และทำให้งานก่อสร้างเร็วขึ้น
-Q3 ซื้อทรัพย์สิน TSSI สำเร็จ
ส่วนความคืบหน้าในแผนลงทุนจำนวนกว่า 3 พันล้านบาท สำหรับซื้อทรัพย์สินของบริษัท TSSI นั้นเงินทุนส่วนนี้จะมาจากการเพิ่มทุนอย่างน้อย 1.5 พันล้านบาทจากผู้ร่วมทุนไทยและต่างชาติ และมาจากเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะนี้ความคืบหน้าเดินมาถึงขั้นตอนกฎหมายแล้ว ภายในไตรมาส 3 ปี 2557 จะซื้อทรัพย์สินได้ และในปี 2558 จะเห็นภาพของ MILL มีการผลิตเหล็กครบวงจรตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยจะมีทั้งเหล็กต้นน้ำ โดยนำเศษเหล็กมาผลิตบิลเล็ต (วัตถุดิบสำหรับผลิตเหล็กรูปทรงยาว เช่นเหล็กเส้น) เหล็กกลางน้ำ (เหล็กก่อสร้างและเหล็กเกรดพิเศษ)และผลิตเหล็กปลายน้ำ เช่น นอต, สกรูฯลฯ
-กะฟันรายได้โตกว่า 2 หมื่นล.
สำหรับรายได้จากการดำเนินกิจการ MILL ปัจจุบันมีรายได้ต่อปีราว 1.3-1.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งรายได้ยังไม่มาก แต่มีความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น และในปี 2558 เมื่อเข้าไปบริหารทรัพย์สินใน TSSI ได้แล้ว MILL จะมีรายได้ดีขึ้นโดยเฉพาะ TSSI ที่ปีแรกจะมีรายได้ 9 พันล้านบาท ก็จะทำให้ MILL มีรายได้รวมเพิ่มทันที 2.20-2.30 หมื่นล้านบาท ในปีแรกเมื่อเข้าไปบริหาร TSSI
ส่วนการปูฐานออกไปลงทุนในต่างประเทศ ล่าสุดบริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อหน่วยงานภาครัฐของ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่คณะกรรมการบริษัทมีมติการอนุมัติแผนการจัดตั้งบริษัทย่อยขึ้นใน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นการขยายธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการเปิดตลาดการค้าใหม่ จึงตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ภายใต้ชื่อ บริษัท มิลล์คอน ธิฮา จำกัด (MillconThiha Co.,Ltd.)โดยจะเริ่มต้นด้วยการดำเนินธุรกิจเทรดดิ้งสินค้าประเภทเหล็กและ วัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับ Myanmar Thiha Group พันธมิตรจากประเทศเมียนมาร์ ที่จะเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 49% ขณะที่ MILLCON ถือหุ้นในสัดส่วน 51%
โดยการลงทุนในเมียนมาร์บริษัทได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้มานานร่วม 3 ปี และอนาคตจากนี้ไปก็จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งฐานการผลิตเหล็กก่อสร้างในประเทศดังกล่าวด้วย หลังจากที่กฎเกณฑ์ในเมียนมาร์เริ่มเอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับปัจจุบันเมียนมาร์ใช้เหล็กต่อปี 2 ล้านตัน มีการบริโภคเหล็ก19 กิโลกรัมต่อหัวต่อปี ซึ่งยังเป็นปริมาณน้อย ทำให้มองเห็นโอกาส เพราะมีแนวโน้มเกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก MILL จึงต้องออกไปปักธงรอก่อน
"ทั้งหมดนี้เป็นเป้าหมายของ MILL ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งก็เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ที่จะมีขนาดตลาดใหญ่ขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนรวมและเพิ่มรายได้และผลกำไรมากขึ้นโดยการเป็นผู้ผลิตเหล็กครบวงจร ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น