ข่าวสารบ้านมิลล์ ฉบับ 01/2558
ขำขัน ฮาเฮ พี่น้องครอบครัวมิลล์ สาระความรู้ตอบปัญหาการทำงานกับ HR สุดหล่อ สุดสวย แข่งขันตอบปัญหา เล่มเกมชิงรางวัล เม้าท์มอยสารพันกันแบบพี่ี่ๆน้องๆ มิลล์ ร้องเรียน ติ ชม การทำงาน HR และอื่นๆๆๆๆๆๆๆๆ 5555
วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558
“โกเบสตีล” ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมเหล็กญี่ปุ่น เอ็มโอยูร่วมลงทุนในมิลล์คอนสเปเชี่ยลสตีล หวังรุกธุรกิจเหล็กลวดเกรดพิเศษ ป้อนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในอาเซี่ยน
“โกเบสตีล”
ยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมเหล็กญี่ปุ่น เอ็มโอยูร่วมลงทุนในมิลล์คอนสเปเชี่ยลสตีล
หวังรุกธุรกิจเหล็กลวดเกรดพิเศษ ป้อนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในอาเซี่ยน
พลเอกวินัย
ภัททิยกุล ประธานกรรมการบริษัทมิลล์คอนสตีล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่
3 มิ.ย. 2558 ณ กรุงโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น บริษัทได้เซ็นสัญญา บันทึกความร่วมมือ หรือ MOU กับ บริษัทโกเบ สตีล จำกัด เพื่อเดินหน้าธุรกิจเหล็กลวดเกรดพิเศษ
ป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ ในภูมิภาคอาเซียน
พลเอกวินัย
กล่าวว่า จุดประสงค์ของการเซ็นสัญญา ความร่วมมือในครั้งนี้ โดยบริษัทโกเบสตีล
จะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทมิลล์คอนสเปเชี่ยลสตีล โดยใส่เงินลงทุนในอุปกรณ์การผลิตเหล็กลวดเกรดพิเศษ
ซึ่งจะทำให้บริษัทเป็นรายแรกในประเทศไทย
และภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถผลิตเหล็กลวดเกรดพิเศษได้
สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยมีการผลิตอยู่ที่
1.88 ล้านคันในปี2014 (ข้อมูลจากกรมอุตสาหกรรมไทย)และคาดว่าจะสูงถึง
3 ล้านคันในปี2020 (ข้อมูลจากCSM
worldwide) รวมถึงความต้องการในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่สูงขึ้นเรื่อยๆจากประเทศไทยและ
ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนิเชีย หรือ มาเลเซีย
ซึ่งชิ้นส่วนส่วนใหญ่ในประเทศไทยในปัจจุบันเกิดจากการนำเข้าทั้งหมด
โดยการผลิตเหล็กลวดเกรดพิเศษนั้น ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต
โดยจะยกขีดจำกัดความสามารถการผลิตให้กับตลาดประเทศไทย
ทั้งนี้
หากบริษัทสามารถผลิตเหล็กลวดเกรดพิเศษที่มีคุณภาพสามารถตอบโจทย์ความต้องการ
ของอุตสาหกรรมรถยนต์ได้จะสามารถเป็นฐานการผลิตเหล็กลวดเกรดพิเศษที่สำคัญใน
ประเทศไทย และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักที่มีความต้องการเหล็กลวดเกรดพิเศษประกอบด้วยกลุ่ม
ลูกค้าที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทยและอาเซี่ยน โดยปัจจุบันบริษัทมิลล์คอน
สเปเชี่ยลกำลังศึกษาแผนการผลิต ซึ่งหนึ่งในลูกค้าที่มีความเป็นไปได้คือ Kobe CH wire จำกัด ที่มีกำลังการผลิตประมาณ 54,000 ตันต่อปี และMahajak kyodo มีกำลังการผลิต 32,400 ตันต่อปี
สำหรับ บริษัท โกเบสตีล จำกัด
เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี
1905 ธุรกิจหลักคือ เป็นผู้ผลิตเหล็ก และเหล็กลวดเกรดพิเศษ
และธุรกิจอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้า โดยบริษัท โกเบสตีล จำกัด ได้ขยายฐานการผลิต
เพื่อรองรับความต้องการของตลาด เหล็กลวดเกรดพิเศษ ไปยังประเทศจีน สหรัฐอเมริกา
แม็กซิโก และประเทศไทย ซึ่งการเข้าร่วมลงทุนในครั้งนี้
จะเป็นการพัฒนากำลังการผลิตและการขยายตลาดของเหล็กลวดเกรดพิเศษ
ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ยินดีต้อนรับพนักงานใหม่ Millcon Special Steel.
"ปฐมนิเทศ"
วันที่ 2 ก.พ. 58
คุณเขษม จันทบูรณ์ ที่ปรึกษาฝ่ายทรัพยากรบุคคลกล่าวต้อนรับและให้แนวทางการทำงานภายใต้วัฒนธรรมองค์กร 3 โอ
ทำกิจกรรมสร้างการทำงานเป็นทีม
คุณนัดธร(ตุ้ย) จนท.ทรัพยากรบุคคล แนะนำองค์กร ระเบียบข้อบังคับการทำงาน สวัสดิการ
คุณรณวิทย์ (พี่รณ) ผจก.แผนกความปลอดภัย ฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน
ยินดีต้อนรับสู่ครอบครัวMILL ค่ะ^^
วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558
โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน LEAN MANAGEMENT
MILLลงนามMOU "โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานตามความ
ต้องการของสถานประกอบกิจการ"โดยศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน
จังหวัดระยองและ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
ระยะเวลาโครงการ ม.ค.-พ.ค.58
การดำเนินโครงการ
1.
ปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงาน 1 สาขาอาชีพ
2.
ปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการทำงาน(Work Improvement)
3.
เพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดการศูนย์เสียในวงจรการผลิต
( Labor Productivity ,Lean, TPM)
ประโยชน์ของโครงการ
1.
นำมาตรฐานมาใช้ในเรื่องการจัดทำ Lean ในองค์กร โดยใช้ทฤษฎีSeven Waste ประกอบด้วย
1.ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป
(Over Production Waste)
2. ความสูญเสียจากการขนส่ง (Transportation Waste)
3. ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting Waste)
4. ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste)
5. ความสูญเสียจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects Waste)
6. ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste)
7. ความสูญเสียจากกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing Waste)
2. ความสูญเสียจากการขนส่ง (Transportation Waste)
3. ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting Waste)
4. ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste)
5. ความสูญเสียจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects Waste)
6. ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste)
7. ความสูญเสียจากกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing Waste)
2. นำสถิติมาตรฐานมาใช้วัดผลิตภาพแรงงาน
(Labour Productivity)
3. จัดทำ KPI ชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายโรงงาน
เพื่อการพัฒนาคุณภาพการทำงานให้ได้ตามเป้าหมายสูงสุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)